krudee


ผลจากการประเมินรอบสาม

 

 

 

 

รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก

เพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษารอบสาม  ด้านการอาชีวศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา

ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ

.ศ. ๒๕๕๔

 

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

(องค์การมหาชน)

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 

                         วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่เลขที่  ๕๐/๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีบุคลากรสายบริหาร ๕ คน ได้รับการประเมินรอบสาม เมื่อวันที่ ๒๑-๒๓ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๔ มีการจัดการศึกษา ๓ ระดับ ๓ ประเภท (ข้อมูลจำนวนผู้เรียนและบุคลากร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓) คือ

๑.         หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีบุคลากรครูจำนวน ๒๙ คน มีผู้เรียนระบบปกติและทวิภาคี จำนวน ๒๖๔ คน ระบบการเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน ๘๕๖ คน

๒.      หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบการเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพ มีบุคลากรครูจำนวน ๒๙ คน ผู้เรียนจำนวน ๑,๒๕๓ คน

๓.       หลักสูตรระยะสั้น มีบุคลากรครูจำนวน ๒๙ คน ผู้เรียน จำนวน ๙๑๘ คน

รวมทั้งสถานศึกษา  มีบุคลากรครู  จำนวน ๒๙ คน ผู้เรียน จำนวน ๓,๒๙๑ คน  

                              สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อการรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา

 

                         ผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้านการอาชีวศึกษา รอบสาม ของวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราพบว่า ผลประเมินในภาพรวมมีค่าคะแนน  ๙๑.๔๒  เมื่อพิจารณาผลประเมินในกลุ่มตัวบ่งชี้พบว่า กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน (ตัวบ่งชี้ที่ ๑-๑๓) มีผลคะแนนเท่ากับ ๖๑.๔๒ กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ( ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔.๑ และ ๑๔.๒) มีคะแนนเต็ม ๑๐ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ ๑๖ ๑๗ และ ๑๘) มีคะแนนเต็ม ๑๐  

 

                         เมื่อพิจารณารายตัวบ่งชี้พบว่า ตัวบ่งชี้ที่มีคะแนนผลการประเมินสูงสุด ๕ คะแนน คือ ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๕ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๘.๒ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ ตัวบ่งชี้ ๑๒ และตัวบ่งชี้ ๑๓ ส่วนตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔.๑ และ ๑๔.๒ ขณะที่ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๔ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ ๑๖ ๑๗ และ ๑๘

 

                         คะแนนผลการประเมินที่รองลงมา คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ได้คะแนน ๔.๘๕ ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ได้คะแนน ๔.๗๒ ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ได้คะแนน ๔.๖๖ ตัวบ่งชี้ที่  ๘.๑ และตัวบ่งชี้ที่ ๙ ได้คะแนน ๔.๕๐  ตัวบ่งชี้ที่ ๖ ได้คะแนน ๔.๒๓  สำหรับตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำสุด ๓ อันดับ ได้แก่ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ๖ และ ๔ โดยมีคะแนนผลการประเมิน ๓.๔๑  ๓.๓๗ และ ๒.๑๘  ตามลำดับ

 

                         เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาแล้วนั้น สถานศึกษามีครบตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานทุกข้อ

                         แสดงว่าผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้มาตรฐาน  เห็นสมควรเสนอให้ สมศ. รับรองมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษา

         จุดเด่น

                         ๑) สถานศึกษาสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ในจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานหรือสถานประกอบการนั้นๆ

                         จุดที่ควรพัฒนา

๑)   ผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ต่อจำนวนผู้เรียนทั้งหมดน้อย (๒.๑๘)

๒) ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนเฉลี่ยด้านพื้นฐานวิชาชีพที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ในกลุ่มรายวิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ ต้องปรับปรุง (๒.๑๓)

ข้อเสนอแนะ 

๑) ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้นำผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ประโยชน์ได้

๒) ส่งเสริม สนับสนุน ทั้งด้านงบประมาณและแนวทางเสริมในกลุ่มรายวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้ และทักษะ เช่น การปรับรูปแบบในกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

นวัตกรรมหรือตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของสถานศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (ถ้ามี)

๑) โครงการความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนกับบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทไทยแอโรว์ บริษัทสยามไวท์ อินตัสทรีจำกัด เป็นต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานหรือสถานประกอบการนั้นๆ

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต

๑) สถานศึกษาควรส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีทักษะทางสังคม เช่น คุณธรรม จริยธรรม การใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เป็นต้น

๒) สถานศึกษาควรสร้างแนวทางให้ชุมชนรอบๆ สถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง

๓) สถานศึกษาควรสร้างความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนกับสถานประกอบการภายนอกให้ครบทุกสาขางานในหลักสูตรปกติ

ตารางที่ ๑ สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา

กรณีที่ ๒  วิทยาลัยสารพัดช่างที่เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น  และหลักสูตร ปวช., ปวส.

ตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

ค่าน้ำหนักคะแนน

ตัวบ่งชี้พื้นฐาน

๑.    ผู้สำเร็จการศึกษาได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระในสาขาที่เกี่ยวข้องภายใน ๑ ปี

การนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม หรือ เปลี่ยนอาชีพภายใน ๑ ปี

 

๔.๘๕

๒.  ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนด้านพื้นฐานวิชาชีพที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

     ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะทางวิชาชีพและสำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตร

๓.๓๗

๓.  ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนด้านวิชาชีพสาขาวิชาและวิชาชีพสาขางานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ผู้รับการฝึกอบรมผ่านการทดสอบวิชาชีพจากคณะกรรมการที่เป็นที่ยอมรับ     

 

๔.๖๖

๔.   ผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนที่ได้นำไปใช้ประโยชน์

ผลงานทางวิชาชีพที่ได้นำไปใช้ประโยชน์

๒.๑๘

๕.   ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ของครูที่ได้นำไปใช้ประโยชน์

๓.๔๑

๖.    ผลการให้บริการวิชาการ/วิชาชีพที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้เรียนผลการให้บริการวิชาการหรือวิชาชีพที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้รับการฝึกอบรม  

 

๔.๒๓

 

๗.   ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะจากประสบการณ์จริง  ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

 

๔.๗๒

๘.   ผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารสถานศึกษา

๘.๑ ผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา

 

๔.๕

๑๐

(๕)

     ๘.๒ ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา

(๕)

๙.    ผลการใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ 

๔.๕

๑๐. ผลการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

๑๑. ผลการบริหารความเสี่ยง

๑๒.            ผลการสร้างการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพ

๑๓.  การพัฒนาสถานศึกษาจากผลการประเมินคุณภาพภายใน

ผลรวมคะแนนการประเมินของตัวบ่งชี้พื้นฐาน

๖๑.๔๒

 

ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์

๑๔. ผลการดำเนินงานตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ  และจุดเน้น จุดเด่นของสถานศึกษา

       ๑๔.๑ ผลการพัฒนาอัตลักษณ์ของผู้เรียนตามปรัชญา วิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา

 

๑๐

(๕)

      ๑๔.๒ ผลการดำเนินงานตามจุดเน้น/จุดเด่นของสถานศึกษา

(๕)

ผลรวมคะแนนการประเมินของตัวบ่งชี้อัตลักษณ์

๑๐

 

ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม

๑๕. ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

๑๖. ผลการพัฒนาคุณภาพครู

๑๗. การพัฒนาสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้

๑๘. การสร้างการมีส่วนร่วมและการขยายโอกาสทางการศึกษา

ผลรวมคะแนนการประเมินของตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม

๒๐

 

ผลรวมคะแนนการประเมินของทุกตัวบ่งชี้

๙๑.๔๒

 

ผลรวมคะแนนการประเมินของทุกตัวบ่งชี้   มีค่าร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป   þ ใช่  q ไม่ใช่

                  ผลรวมคะแนนการประเมินของตัวบ่งชี้ที่ ๑ - ๑๓   มีค่าร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป   þ ใช่  q ไม่ใช่

                        ผลการดำเนินงาน อย่างน้อย ๑๖ ตัวบ่งชี้ มีค่าคะแนนตั้งแต่ร้อยละ ๕๐   þ ใช่  q ไม่ใช่

ในภาพรวมสถานศึกษาจัดการศึกษา  þ  สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา  q ไม่สมควรรับรองมาตรฐานการศึกษา 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

 

ตอนที่

 

หน้า

 

 

 

 

 

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร .........................................................

 

ตอนที่ ๑

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา .............................................

 

ตอนที่ ๒

ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา ....................................

ตัวบ่งชี้พื้นฐาน

ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์

ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม .

๑๐

๑๑

๒๗

๓๐

 

ตอนที่ ๓

สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกการศึกษาด้านการอาชีวศึกษา

วิเคราะห์สถานศึกษาจากผลการประเมิน

ทิศทางการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาในอนาคต

นวัตกรรมหรือตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (GoodPractice) ของสถานศึกษาที่เป็นข้อเสนอแนะ

๓๔

๓๕

๓๖

๓๖

 

ภาคผนวก

กำหนดการประเมิน ………………………………………

รายนามคณะผู้ประเมินและการรับรองรายงาน .....................

๓๘

๓๙

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตอนที่ ๑   สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

   ๑. วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐/๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ ๒๔๐๐๐ หมายเลขโทรศัพท์๙๘๑๒๑๔- ๐๓๘   หมายเลขโทรสาร ๐๓๘-๙๘๑๒๑๐

E-mail……………………………….Website  www.chpc.ac.th

๒.  สังกัด       (ü)  สอศ.         (   ) สช.             (    ) เทศบาล        (    ) อื่น ๆ ระบุ………..    

๓.  สรุปข้อมูลของสถานศึกษาที่น่าสนใจ ในประเด็นต่อไปนี้

            ๓.๑  หลักสูตรและจำนวนผู้เรียนหลักสูตร ปวช. และ ปวส.

ตารางที่  ๒  จำนวนผู้เรียนจำแนกตามระดับชั้น  หลักสูตร  เพศ (ปีการศึกษา ๒๕๕๓)

ระดับชั้น

หลักสูตร

รวม

ทั้งหมด

ปกติ + ทวิภาคี

เทียบโอนฯ

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ปวช. ๑

๑๒๔

-

๑๑๓

๔๕

๒๘๒

ปวช. ๒

๗๘

๑๔๓

๕๓

๒๗๖

ปวช. ๓

๕๙

๓๕๓

๑๔๙

๕๖๒

รวมระดับ  ปวช.

๒๖๑

๖๐๙

๒๔๗

๑,๑๒๐

ปวส.๑

-

-

๑๔๑

๗๑

๒๑๒

ปวส.๒

-

-

๖๗๑

๓๗๐

๑,๐๔๑

รวมระดับ  ปวส.

-

-

๘๑๒

๔๔๑

๑,๒๕๓

รวมทั้งหมด

๒๖๑

๑,๔๒๑

๖๘๘

๑,๑๒๐+๑,๒๕๓* ,๓๗๓

 

หลักสูตรและประเภทวิชา

จำนวนผู้เรียน

รวม

จำนวนผู้สอน

รวม

สัดส่วน

ปวช.

ปวส.

ปวช.

ปวส.

 

ประเภทวิชา อุตสาหกรรม

สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง

สาขาวิชายานยนต์   

สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

 

 

๑๑๗

๑๓๓

๑๐

 

 

-

-

-

-

 

 

๑๑๗

๑๓๓

๑๐

 

 

 

 

-

-

-

-

 

 

 

 

๑:๑๗

๑:๑๕

๑:๑๐

๑:๔

                                   รวม

๒๖๔

-

๒๖๔

๑๘

-

๑๘

๑:๑๕

                                รวมทั้งสิ้น

๒๖๔

-

๒๖๔

๑๘

-

๑๘

๑:๑๕

 

 

ตารางที่ ๓  หลักสูตรและจำนวนผู้เรียนหลักสูตรระยะสั้น (ปีการศึกษา ๒๕๕๓)

หลักสูตรและประเภทวิชา

จำนวนผู้เรียน

รวม

จำนวนผู้สอน

รวม

สัดส่วน

1. แผนกวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย

  เสื้อสมัยนิยม  ๒

  เสื้อสตรีสมัยนิยม  ๑

  กางเกงสตรี

 

๒๘

๒๘

๒๘

๘๔

๑:๔๒

2.แผนกวิชาอาหารและโภชนาการ

  อาหารไทย

  อาหารนานาชาติ

  ขนมอบ

 

๔๗

๒๓

๒๐๐

๒๗๐

 

๑:๑๓๕

3.แผนกวิชาศิลปะประดิษฐ์

  การแกะสลักผัก

๑:๕

4.แผนกวิชาเสริมสวย

  สระผม เซทผม

  ถักผมเปีย

  ซอยผม ดัดผม

  เปลี่ยนสีผม

  แต่งหน้า

  แต่งเล็บ

๑๐๙

๓๙

๑๐๖

๓๘

๗๐

๖๘

๔๓๐

 

 

 

๑:๔๓๐

5.แผนกวิชาตัดผมชาย

  ตัดผมชายเบื้องต้น

๕๐

๕๐

 

๑:๕๐

6.อุตสาหกรรม/ยานยนต์

  ฝึกหัดขับรถยนต์

๓๕

๓๕

 

๑:๑๒

7.แผนกวิชาอุตสาหกรรม / ไฟฟ้า

  ซ่อมเครื่องปรับอากาศ

  ซ่อมเครื่องเย็นเบื้องต้น

(ใช้ครูแผนกวิชาเทคนิคพื้นฐาน ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

๑๑

๑๕

๒๖

 

 

๑:๓

8.แผนกวิชาพณิชยกรรม/คอมพิวเตอร์

  คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

 

๑๘

 

๑๘

 

 

 

๑:๙

                                  รวมทั้งสิ้น

๙๑๘

๙๑๘

๒๐

๒๐

:๔๖

หมายเหตุ  ไม่นับผู้บริหาร จำนวน ๕ คน และครูแผนกวิชาสามัญ จำนวน ๔ คน

๓.๓  ครูและบุคลากร

ตารางที่ ๔ จำนวนครูและบุคลากร (ปีการศึกษา ๒๕๕๓)

ประเภท/ตำแหน่ง

จำนวน

ต่ำกว่า ป.ตรี

ป.ตรี

ป.โท

ป.เอก

รวม

๑. ผู้บริหารสถานศึกษา

 

 

 

 

 

    - ผู้อำนวยการ

 

 

 

    - รองผู้อำนวยการ/ผู้ช่วย

 

    - ผู้จัดการ

 

 

 

 

 

                                               รวม

 

๒. ผู้สอน

 

 

 

 

 

     - อาจารย์ประจำ

 

 

 

     - อาจารย์อัตราจ้าง   

       (ที่ทำสัญญาไม่น้อยกว่า ๙ เดือน)

 

 

๑๐

     - อาจารย์พิเศษ

 

 

 

 

 

     - พนักงานราชการ

 

 

๑๑

                                              รวม

๑๘

 

๒๕

๓. บุคลากรสายสนับสนุน

 

 

 

 

 

     - เจ้าหน้าที่

 

 

 

 

 

     - ลูกจ้าง

     - ประจำ

     - อัตราจ้าง (เจ้าหน้าที่ นักการภารโรง พนักงานขับรถ)

๑๙

๑๑

 

 

๓๐

                                               รวม

๑๙

๑๑

 

 

๓๐

                                       รวมทั้งสิ้น

๒๑

๓๑

๖๐

 

สัดส่วนของจำนวนผู้เรียน : ครู (ภาพรวม) .................................................

 

                   

 

 

                    ๓.๔ ทรัพยากรและงบประมาณ

งบประมาณประจำปี

 (จากงบประมาณแผ่นดิน และรายได้อื่นๆ สำหรับสถานศึกษาเอกชน คิดจากเงินรายได้ทั้งหมด)

ตารางที่ ๕ งบประมาณประจำปี ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓

 

รายการ

ปี ๒๕๕๑

ปี ๒๕๕๒

ปี ๒๕๕๓

เฉลี่ย ๓ ปี

รายรับ

๒๘,๕๒๕,๑๕๗.๓๐

๓๕,๖๖๓,๓๑๘.๘๑

๓๔,๑๙๓.๘๕๖.๐๕

๓๒,๗๙๔,๑๑๐.๗๒

รายจ่าย

๑๙,๘๐๘,๐๔๒.๐๔

๓๐,๖๑๐,๐๒๖.๗๖

๒๗,๖๓๙,๕๓๓.๓๐

๒๖,๐๑๙,๒๐๐.๗๐

เหลือจ่ายสุทธิ

๗,๕๑๐,๙๙๘.๒๔

๕,๑๙๘,๖๓๙.๕๒

๖,๔๘๓,๘๑๗.๗๒

๖,๓๙๗,๘๑๘.๓๙

     

                     ๓.๕  ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

                         ปรัชญา 

ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชาการ ใช้เวลาสร้างงานอาชีพ

                         วิสัยทัศน์

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตามความต้องการของตลาดแรงงาน และการประกอบอาชีพอิสระได้อย่างมีความสุข ภายใต้คุณธรรมนำความรู้ สู่หลักเศรษฐกิจพอเพียง

                          พันธกิจ

๑.      การบริหารเชิงรุกตามยุทธศาสตร์และนโยบาย

๒.    การให้บริการสังคมด้านวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ

๓.     การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ผู้เรียนเป็นคนดี  มีความรู้  มีทักษะอาชีพ

๔.     การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

๕.     การเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรภายนอก

        ๓.๖ แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

             วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา ๓ ปี โดยผ่านคณะกรรมการสถานศึกษา จัดทำโครงการพัฒนาในทุกด้าน มีการกำกับติดตามโดยคณะกรรมการสถานศึกษา มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ตามปรัชญาของวิทยาลัย

 

                  

 

 

                    ๓.๗ แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา

             วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราพัฒนาองค์กรให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของวิทยาลัยฯ มีการอนุมัติโดยคณะกรรมการสถานศึกษา มีการกำกับติดตามให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมภายนอก

 

                    ๓.๘  การบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์/แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

             วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราได้ดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ / แผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านการเรียนการสอน ด้านมาตรฐานคุณภาพนักเรียนนักศึกษา ด้านมาตรฐานห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ด้านระบบการดำเนินการและการให้บริการ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์ องค์ประกอบต่างๆ ที่มีส่วนเกื้อหนุนการจัดการศึกษา ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านคุณธรรม จริยธรรมของบุคลากร นักเรียนนักศึกษา ชุมชนและสังคม โดยสรุป สถานศึกษามีการพัฒนาทุกด้านได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกมาตรฐาน

 

          ๔. นวัตกรรมหรือตัวอย่างการปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ของสถานศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีจุดเด่นในการให้บริการวิชาชีพ (หลักสูตรระยะสั้น) เป็นที่ยอมรับของสังคม มีส่วนร่วมในการออกให้บริการทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และชุมชน มีโล่รางวัลเป็นที่ยอมรับของสังคม

 

             ๕. สรุปข้อมูลจากรายงานประเมินตนเอง

                         จุดเด่น

                         วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีจุดเด่นในการสอนวิชาชีพ (หลักสูตรระยะสั้น) ได้นำวิชาชีพดังกล่าวออกบริการชุมชนโดยรอบวิทยาลัยฯ และหน่วยงานตามที่ได้ขอความร่วมมือ อาทิ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เทศบาลต่างๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การออกให้บริการร่วมกับอำเภอต่างๆ โครงการจังหวัดฉะเชิงเทราเคลื่อนที่ (จังหวัดเคลื่อนที่) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง สถานศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา    

             จุดควรพัฒนาของสถานศึกษา 

             วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีจุดที่ควรพัฒนาเรื่องการออกกลางคันของผู้เรียน (Drop out) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

             ข้อเสนอแนะ 

             วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราควรเพิ่มวิชาชีพระยะสั้นให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกให้บริการประชาชนได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

 

 

 

ตอนที่ ๒  ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา

 

                         ผลการประเมินคุณภาพภายนอกด้านการอาชีวศึกษา รอบสาม ของวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราพบว่า ผลประเมินในภาพรวมมีค่าคะแนน  ๙๑.๔๒  เมื่อพิจารณาผลประเมินในกลุ่มตัวบ่งชี้พบว่า กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน (ตัวบ่งชี้ที่ ๑-๑๓) มีผลคะแนนเท่ากับ ๖๑.๔๒ กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ( ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔.๑ และ ๑๔.๒) มีคะแนนเต็ม ๑๐ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม (ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ ๑๖ ๑๗ และ ๑๘) มีคะแนนเต็ม ๑๐  

                         เมื่อพิจารณารายตัวบ่งชี้พบว่า ตัวบ่งชี้ที่มีคะแนนผลการประเมินสูงสุด ๕ คะแนน คือ ตัวบ่งชี้พื้นฐาน ๕ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๘.๒ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๐ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๑ ตัวบ่งชี้ ๑๒ และตัวบ่งชี้ ๑๓ ส่วนตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ๒ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๔.๑ และ ๑๔.๒ ขณะที่ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม ๔ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ ๑๕ ๑๖ ๑๗ และ ๑๘

                         คะแนนผลการประเมินที่รองลงมา คือ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ ๑ ได้คะแนน ๔.๘๕ ตัวบ่งชี้ที่ ๗ ได้คะแนน ๔.๗๒ ตัวบ่งชี้ที่ ๓ ได้คะแนน ๔.๖๖ ตัวบ่งชี้ที่  ๘.๑ และตัวบ่งชี้ที่ ๙ ได้คะแนน ๔.๕๐  ตัวบ่งชี้ที่ ๖ ได้คะแนน ๔.๒๓  สำหรับตัวบ่งชี้ที่ได้คะแนนผลการประเมินต่ำสุด ๓ อันดับ ได้แก่ กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ ๕ ๖ และ ๔ โดยมีคะแนนผลการประเมิน ๓.๔๑  ๓.๓๗ และ ๒.๑๘  ตามลำดับ ดังตารางที่ ๖

 

ตารางที่ ๖ ผลการประเมินแยกตามกลุ่มตัวบ่งชี้

 

วิทยาลัย

คะแนนแยกตามกลุ่มตัวบ่งชี้

คะแนนในระดับสถานศึกษา

พื้นฐาน

อัตลักษณ์

มาตรการส่งเสริม

 

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา

 

 

    ๖๑.๔๒

 

    ๑๐

 

      ๒๐

   

    ๙๑.๔๒

ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้พื้นฐาน : ผลการจัดการศึกษา

 

ตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

   ค่าน้ำหนัก    คะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ ๑  ผู้สำเร็จการศึกษาได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระในสาขาที่เกี่ยวข้องภายใน ๑ ปี

                การนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม หรือ เปลี่ยนอาชีพภายใน ๑ ปี

    ร้อยละ   

   ๙๗.๐๐

 

๔.๘๕

 

 

วิธีดำเนินการ (ระบุโครงการ/กิจกรรมที่ปฏิบัติ)

                         จากการศึกษารายงานการประเมินตนเอง รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก
รอบสอง สัมภาษณ์ ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน  พบว่าวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ หลักสูตรเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นสำหรับบุคคลทั่วไปที่หลากหลาย ตามปรัชญาของสถานศึกษา “ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศปัญญา ใช้เวลาสร้างงานอาชีพ” สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ว่า “เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตามความต้องการของตลาดแรงงาน และการประกอบอาชีพอิสระได้อย่างมีความสุข ภายใต้คุณธรรมนำความรู้สู่หลักปรัชญาเศรษฐกิจ” จากข้อมูลพบว่า ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ มีโครงการติดตามผู้สำเร็จการศึกษา มีการแต่งตั้งกรรมการ คณะทำงานปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล และสรุปข้อมูล มีการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยอาจารย์ผู้สอนไปเยี่ยมสถานที่ทำงาน มีภาพถ่ายการปฏิบัติงาน และสอบถามเรื่องรายได้  มีผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระในสาขาที่เกี่ยวข้องภายใน ๑ ปี และมีผู้เข้าอบรมนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพเดิม อาชีพเสริม หรือ เปลี่ยนอาชีพภายใน ๑ ปี ในหลักสูตรระยะสั้น ร้อยละ ๙๗.๐๑

ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

ผู้บริหารของสถานศึกษามีวิสัยทัศน์และมีการบริหารจัดการที่ดี

อาจารย์ผู้สอนมีความรู้ ความสามารถ เปิดสอนหลักสูตรที่หลากหลาย ตามความต้องการของชุมชนและตลาดแรงงาน มีความทุ่มเทและเอาใจใส่ผู้เรียนเป็นอย่างดี

มีระบบและกลไกในการจัดการศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการแต่งตั้งกรรมการ คณะทำงานปฏิบัติงานตามแผน เก็บรวบรวมข้อมูล สรุปข้อมูล มีโครงการติดตามผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ โดยติดตามในวันปัจฉิมนิเทศและหลังสำเร็จการศึกษา และการกรอกข้อมูลให้แก่กรมแรงงาน 

ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินการ

ระบบฐานข้อมูลของผู้สำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นนั้นยังไม่ดีพอ พบเพียงรายงานสรุปจำนวนและรายชื่อผู้สำเร็จการฝึกอบรม เป็นการกรอกข้อมูลให้แก่สถานศึกษาตั้งแต่วันที่ลงทะเบียนแรกเข้า  ซึ่งพบที่อยู่ สถานที่และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ แต่ยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะ

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราควรเร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลของผู้สำเร็จการศึกษา สรุปและแสดงค่าร้อยละ แยกตามระดับและประเภทวิชาในทุกภาคการศึกษาให้ชัดเจนทั้งในระบบ นอกระบบ หลักสูตรเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสะดวกต่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ในอนาคต  เช่น วิเคราะห์ว่าหลักสูตรใดมีผู้เรียนเป็นจำนวนมาก วิเคราะห์ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรต่างๆ มากกว่า ๑ หลักสูตร ความถี่ในการลงทะเบียนเรียน และอื่นๆ

 


 

ตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

ค่าน้ำหนักคะแนน

ตัวบ่งชี้ที่ ๒   ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนด้านพื้นฐานวิชาชีพที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ *    

                 ผู้รับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะทางวิชาชีพและสำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตร

   ร้อยละ  

   ๖๗.๔๐

        

 

        ๓.๓๗

วิธีดำเนินการ (ระบุโครงการ/กิจกรรมที่ปฏิบัติ)

         วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี  เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาชีพ  และการประกอบอาชีพ มีการกำหนดแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน มีครูผู้สอนที่ตระหนักและพยายาม มีโครงการสนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้น

         ส่วนหลักสูตรระยะสั้น วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและเปิดสอนวิชาชีพหลายหลักสูตร ตลอดทั้งปี รองรับความต้องการของผู้เรียน ของชุมชนได้เป็นอย่างดี ผลผลิตที่ออกไปมีคุณภาพ ทำให้มีจำนวนผู้เรียนเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี  

 

ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะทางวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี  เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาชีพและการประกอบอาชีพ

มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและเปิดสอนวิชาชีพหลายหลักสูตร ตลอดทั้งปี รองรับความต้องการของผู้เรียน ของชุมชนได้เป็นอย่างดี

 

ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินการ

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการเรียนด้านพื้นฐานวิชาชีพที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แม้จะมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปีก็ตาม

ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อการเรียนรายวิชาสามัญทั่วไป (ภาษาไทย) วิชาสามัญพื้นฐานวิชาชีพ (วิทยาศาสตร์ คณิตสาสตร์และภาษาอังกฤษ) และวิชาชีพพื้นฐาน (คอมพิวเตอร์) ค่อนข้างน้อย เพราะผู้เรียนเน้นวิชาชีพมากกว่า

 

 

 

ข้อเสนอแนะ

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราควรจัดทำโครงการต่างๆ อาทิ โครงการปรับพื้นฐานของผู้เรียนในรายวิชาที่ผู้เรียนได้คะแนนน้อย เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โครงการสอนซ่อมเสริมของครูผู้สอน โครงการพี่สอนน้อง เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาดังกล่าวผ่านเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย ๒.๕๐

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียนให้มีผลการเรียนด้านพื้นฐานวิชาชีพที่สูงขึ้น ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เช่น ทักษะการสื่อสารทั้งภาษาไทย  และภาษาต่างประเทศ 

 

ตัวบ่งชี้

  ผลการ ดำเนินงาน

ค่าน้ำหนักคะแนน

ตัวบ่งชี้ที่  ๓ ผู้สำเร็จการศึกษามีผลการเรียนด้านวิชาชีพสาขาวิชา และวิชาชีพสาขางานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ *     

                   ผู้รับการฝึกอบรมผ่านการทดสอบวิชาชีพจากคณะกรรมการที่เป็นที่ยอมรับ    

    ๙๓.๒๐

 

 

    ๔.๖๖

 

 

วิธีดำเนินการ (ระบุโครงการ/กิจกรรมที่ปฏิบัติ)

         จากการศึกษารายงานการประเมินตนเอง สัมภาษณ์ ผู้บริหาร คณะครู นักเรียนและผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า สถานศึกษามีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อวางแนวทางการสอบร่วมกับสถานศึกษาอื่นๆ  ได้ส่งอาจารย์ไปอบรมและร่วมกันจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ  สถานศึกษาจัดให้มีการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพกับผู้เรียนชั้นปีสุดท้าย ก่อนสำเร็จการศึกษา จำแนกตามหลักสูตรที่เปิดสอนอย่างครบถ้วน สำหรับหลักสูตรระยะสั้นนั้น มีการแต่งตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ประจำสาขา อาจารย์ผู้สอน เพื่อรับผิดชอบจัดสอบและประเมินผลรายวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนให้คะแนนตามจุดประสงค์รายวิชา ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ทำเป็น เช่น ผู้เรียนสามารถสร้างแบบเสื้อได้ สามารถสร้างแบบแขนได้ สามารถตัดเย็บเสื้อได้ โดยแต่ละรายวิชามีการประเมินผลคะแนนส่วนของทักษะความสามารถที่เป็นผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์การฝึกอบรม    ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

 

ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ อาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีกรรมการภายในและคณะกรรมการภายนอกสถานศึกษาดำเนินงาน สรรหาและคัดเลือกข้อสอบมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อให้ได้ข้อสอบตรงตามมาตรฐาน ทั้งกลุ่มวิชาสามัญ กลุ่มวิชาชีพ ตามนโยบายของคณะกรรมการอาชีวศึกษา เกี่ยวกับการพัฒนาด้านงานวิชาการและการปฏิรูปการเรียนการสอนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

         วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรามีคณะกรรมการดำเนินการทดสอบวิชาชีพและรายงานผลคะแนนตามเวลาที่กำหนด

ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินการ

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราไม่มีคณะกรรมการวิชาชีพ (หลักสูตรระยะสั้น) ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีเพียงคณะกรรมการภายในสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์หลักสูตรละ ๓ คน ทำให้เกณฑ์การพิจารณา หรือการทดสอบทักษะความสามารถอาจไม่ได้มาตรฐาน ไม่เป็นที่ยอมรับ

 

ข้อเสนอแนะ

วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราควรแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาชีพ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาร่วมจัดทำข้อสอบให้ครบทุกสาขางาน หรือครบทุกหลักสูตรที่เปิดสอน เพื่อให้ได้เกณฑ์การวัดและประเมินผลที่น่าเชื่อถือ  เป็นที่ยอมรับ สามารถทดสอบทักษะความสามารถของผู้รับการฝึกอบรมได้จริง ว่ามีผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนั้นๆ หรือไม่ และเกณฑ์ดังกล่าวต้องตอบสนองต่อความต้องการของสังคม

ตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

ค่าน้ำหนักคะแนน

ตัวบ่งชี้ที่  ๔  ผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์    

    ๔๓.๖๘

 

 

   ๒.๑๘

 

วิธีดำเนินการ (ระบุโครงการ/กิจกรรมที่ปฏิบัติ)

         จากการศึกษารายงานการประเมินตนเอง รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง สัมภาษณ์ ผู้บริหาร คณะครู นักเรียนพบว่าวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราในเรื่องผลงานที่เป็นโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ได้จัดทำแผนงานประจำปี โดยมีโครงการที่สนับสนุนการสร้างผลงาน ได้แก่ โครงการสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ โครงการวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งให้งบประมาณสนับสนุนในการสร้างผลงานทางวิชาชีพและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนพร้อมทั้งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งในการเรียนการสอนและการสร้างชื่อสียงให้กับสถาบันการศึกษา อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๖ เดือน มีการรายงานผลที่เป็นผลงานนักเรียน นักศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๓ จำนวน ๑๗ ชิ้นงาน โดยมีการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น และภายในสถานศึกษาเอง

ส่วนในหลักสูตรระยะสั้น จำนวนผลงานทางวิชาชีพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่นำไปใช้ประโยชน์หรือได้รับรางวัล ในระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น และภายในสถานศึกษาเอง มีเป็นจำนวน ๑๕๖ ครั้ง

 

ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน

จัดทำแผนงานประจำปี โดยมีโครงการที่สนับสนุนการสร้างผลงาน ได้แก่ โครงการสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ โครงการวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งให้งบประมาณสนับสนุนในการสร้างผลงานทางวิชาชีพและสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียนพร้อมทั้งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งในการเรียนการสอนและการสร้างชื่อเสียงให้แก่สถานศึกษา

 

ปัญหา/อุปสรรคต่อการดำเนินการ

ขาดปัจจัยด้านทุนสนับสนุนการทำโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน

ข้อเสนอแนะ

ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการทำโครงงานทางวิชาชีพหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้เรียน และควรนำไปใช้ประโยชน์ โดยการส่งเข้าประกวดแข่งขัน หรือนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

 

ตัวบ่งชี้

ผลการดำเนินงาน

ค่าน้ำหนักคะแนน

ตัวบ่งชี้ที่  ๕  ผลงานที่เป็นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ หรืองานวิจัยของครูที่ได้นำไปใช้ประโยชน์    

๖๘.๓๖

 

 

๓.๔๑

 

วิธีดำเนินการ (ระบุโครงการ/กิจกรรมที่ปฏิบัติ)

         จากการศึกษารายงานการประเมินตนเอง รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง สัมภาษณ์ ผู้บริหาร คณะครู พบว่าวิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราในเรื่อง ผลงานที่เป็นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ หรืองานวิจัยของครูที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ สถานศึกษาได้จัดทำแผนงานประจำปี โดยมีโครงการที่สนับสนุนการสร้างผลงานในการทำวิจัยในชั้นเรียน ในสาขาต่าง ๆ โดยอาจารย์ทุกท่านได้ทำงานวิจัยในชั้นเรียนทุกคน นอกจากนั้น ในบางสาขาวิชายังได้ทำงานวิจัยเฉพาะสาขาเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งงานวิจัยทั้งหมดเป็นงานวิจัย ๕ บทที่มี เป้าประสงค์ มีการระบุปัญหา มีวิธีดำเนินการ มีการเก็บและบันทึกข้อมูล มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลความรู้ ส่วนนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์นั้น อาจารย์ในสาขางานเสื้อผ้


งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทรา CHPC@2021


Generated 1.314173 sec.